บทที่ 1
                                                   การทำงานของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง

1.  หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
            การทำงานของคอมพิวเตอร์  จะต้องประกอบด้วย  หน่วยรับข้อมูล  (Input  Unit)  เพื่อรับข้อมูลและคำสั่งหรอโปรแกรมเข้าไปเก็บไว้ในอุปกรณ์เก็บข้อมูลหรือหน่วยความจำหลัก  คำสั่งที่เก็บไว้ในหน่วยความจำหลักจะไปตีความ  และประมวลผลโดยหน่วยประมวลผลกลาง  (CPU)  ซึ่งเปรียบเป็นสมองของคอมพิวเตอร์  ผลที่ได้จาการคำนวณหรือเปรียบเทียบจะไปเก็บยังหน่วยความจำแรมและพร้อมที่จะแสดงผล
            ก่อนที่คอมพิวเตอร์จำทำงานได้จะต้องโหลดเอาระบบปฏิบัติการเข้าไปเก็บไว้ในหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อน  กระบวนการนี้เรียกว่า  “การบูตเครื่อง  (Boot)”  มี  7  ขั้นตอนดังนี้
1.       เมื่อปิดสวิตช์เครื่องคอมพิวเตอร์  Power  Supply  จะส่งสัญญาณไฟฟ้าไปให้ซีพียู  (CPU : Central  Processing  Unit)  เริ่มทำงาน
2.       ซีพียู  สั่งให้ไบออส  (BIOS : Basic  Input  Output  System)  ทำงาน
3.       เริ่มทำงานตามกระบวนการ  POST  เพื่อตรวจเช็ตอุปกรณ์ต่างๆ  หากมีข้อผิดพลาดจะมีสัญญาณเตือน  เช่น  เสียงยาว  1  ครั้ง  และเสียงสั้น  3  ครั้ง  แสดงว่าเกิดข้อผิดพลาดจากการ์ดจอ  ไบออสแต่ละรุ่น  จะมีรหัสสัญญาณที่แตกต่างกัน
4.       ผลลัพธ์ที่ได้จากกระบวนการ  POST  จะนำไปเปรียบเทียบกับข้อมูลที่อยู่ใน  CMOS  (Complementary  Metal  Oxide  Semiconductor)  ข้อมูลของอุปกรณ์ต่างๆ  ที่ติดตั้งอยู่ในเครื่อง  หรือ  ค่า  Configuration  จะเก็บไว้ในหน่วยความจำนี้ถ้าถูกต้องก็จะทำงานต่อไป  ถ้าเกิดผิดพลาดต้องแจ้งผู้ใช้ให้แก้ไขข้อมูลก่อน
5.       ไบออสจะอ่านโปรแกรมสำหรับบูตจากฮาร์ดดิสก์  ไปออสในรุ่นใหม่จะกำหนดได้ว่าจะบูตจากเซกเตอร์แรกของอุปกรณ์ตัวไหนก่อน
6.       โปรแกรมส่วนสำคัญที่เรียกว่า  เคอร์เนล  (Kernel)  จะถูกถ่ายทอดค่าลงหน่วยความจำแรม  (RAM : Random  Access  Memory)
        Kernel  คือ  ส่วนประกอบหลักของระบบปฏิบัติการ  ซึ่งจะคอยดูแลบริหารจัดการทรัพยากรของระบบ  และติดต่อประสานงานกับฮาร์ดดิสก์และซอฟต์แวร์  เนื่องจากเป็นส่วนประกอบพื้นฐานของระบบปฏิบัติการ  เคอร์เนลเป็นฐานร่างสุดในการติดต่อกับทรัพยากรต่างๆ  เช่น  หน่วยความจำ  หน่วยประมวลผลกลาง  และอุปกรณ์อินพุตและเอาต์พุต
7.       ระบบปฏิบัติการในหน่วยความจำจะเข้าควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์และแสดงผลลัพธ์เคอร์เนลถูกถ่ายโอนลงสู่หน่วยความจำ  และเข้าไปควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์โดยรวมและโหลดค่าของ  Configuration  ต่างๆ  พร้อมทั้งแสดงผลลัพธ์มาที่เดสก์ทอปของผู้ใช้เพื่อรอรับคำสั่งการทำงานต่อไป  ซึ่งในปัจจุบันระบบปฏิบัติการใหม่ๆจะมี  GUI  ที่เหมาะสมกับผู้ใช้
              เดสก์ทอป  (Desktop)  คือ  พื้นที่ฉากหลังของ  Windows  ถูกจำลองมาจากการทำงานบนโจฃต๊ะทำงาน  ซึ่งประกอบไปด้วย  เครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงาน  โดยจะมีสัญลักษณ์ภาพแทน
สิ่งต่างๆ  ในระบบให้มองเห็นเหมือนกับสิ่งของที่อยู่บนโต๊ะ  ผู้ใช้สามารถเรียกใช้งานได้สะดวก  รวดเร็ว  และยังสามารถปรับเปลี่ยนภาพบนเดสก์ทอปได้ตามความต้องการ
GUI  (Graphic  User  Interface)  คือ  การใช้ภาพสัญลักษณ์ติดต่อกับผู้ใช้  เป็นการออกแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้มีการโต้ตอบกับผู้ใช้  โดยใช้ไอคอน  (ICON)  รูปภาพ  และสัญลักษณ์ต่างๆ  แทนการพิมพ์คำสั่งในการทำงานช่วยให้ผู้ใช้ทำงานได้ง่าย
การบูต  มี  2  ชนิด  คือ
        1.   โคลบูต  (Cold  Boot)  คือ  การบูตเครื่องที่อาศัยการทำงานของฮาร์ดแวร์  โดยการกดปุ่มสวิตช์เพาเวอร์
        2.   วอร์มบูต  (Warm  Boot)  คือ  การบูตเครื่องโดยทำให้เกิดกระบวนการบูตใหม่หรือที่เรียกว่า  “รีสตาร์ตเครื่อง”  ส่วนใหญ่จะใช้ในกรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์หยุดชะงัก  (Hang)  เมื่อคอมพิวเตอร์หยุดชะงัก  สามารถแก้ไขได้  3  วิธี  คือ
2.  หน้าที่และหลักการทำงานของอุปกรณ์ต่อพ่วง
            อุปกรณ์ต่อพ่วง  คือ  อุปกรณ์ที่สามารถต่อเข้ากับอุปกรณ์ของหน่วยประมวลผลกลางและประกอบเข้ากับระบบคอมพิวเตอร์  เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.                   แผงแป้นอักขระ  (Keyboard)  เป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการนำข้อมูลลงในเครื่องคอมพิวเตอร์มีลักษณะป็นแป้นตัวอักษรเหมือนแป้นเครื่องพิมพ์ดีด  เป็นอุปกรณ์นำข้อมูลเข้าพื้นฐานที่ต้องใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง  คีย์บอร์ดจะมีแป้นตัวเลขแยกไว้ต่างหาก  เพื่อความสะดวกในการป้อนข้อมูลที่เป็นตัวเลขและสะดวก  การวางตำแหน่งแป้นอักษรจะเป็นไปตามมาตรฐานของระบบพิมพ์สัมผัสของเครื่องพิมพ์ดีดที่มีการใช้แป้นยกแคร่  (Shift)  เพื่อใช้พิมพ์ตัวอักษรบน  ตัวพิมพ์ใหญ่  และตัวพิมพ์เล็ก  ระบบรหัสตัวอักษรที่ใช้ในทางคอมพิวเตอร์จะเป็นรหัส  7  หรือ  8  บิต  เมื่อมีการกดแป้นพิมพ์  เครื่องจะส่งรหัส  7  หรือ  8  บิตเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์  ภายในแป้นพิมพ์จะมีแผงวงจรหลักที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากมีลักษณะเป็นแผ่นบางๆ  ที่ถูกฉาบด้วยหมึกที่เป็นตัวนำไฟฟ้า  เมื่อแป้นพิมพ์ถูกกดจนติดกับชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ก็จะมีกระแสไฟฟ้าไหลในตัววงจร  ข้อมูลในรูปของสัญญาณไฟฟ้าจากแป้นที่ถูกกดแต่ละแป้นจะถูกเปรียบเทียบรหัส  (Scan  Code)  กับรหัสมาตรฐานของแต่ละแป้นที่กดเพื่อปลี่ยนให้เป็นตัวอักษร  ตัวเลข  หรือสัญลักษณ์ไปปรากฏที่จอคอมพิวเตอร์
ระบบรหัสที่ใช้ในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์  คือ  รหัส  ASCII  (American  Standard  Conde  for  Information  Interchange)  เป็นรหัสมาตรฐานของสหรัฐอเมริกาเพื่อการแลกเปลี่ยนสารสนเทศ  เป็นรหัสอักขระที่ประกอบด้วย  อักษรละติน  เลขอารบิก  เครื่องหมายวรรคตอน  และสัญลักษณ์ต่างๆโดยแต่ละรหัสจะแทนด้วยตัวอักขระหนึ่งตัว  เช่น  รหัส  65  (เลขฐานสิบ)  ใช้แทนอักษรเอ  (A)  พิมพ์ใหญ่  เป็นต้น
คีย์บอร์ด  มี  5  แบบ  คือ
    ·   Desktop  Keyboard  มี  101  แป้น


       ·   Desktop  Keyboard  with  Hot  Keys  คือ  คีย์บอร์ดที่มีจำนวนแป้นมากกว่า  101  แป้นขึ้นไปขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การใช้งาน  ซึ่งจะมีปุ่มพิเศษสำหรับระบบปฏิบัติการ  Windows

·       Wireless  Keyboard  คือ  คีย์บอร์ดไร้สายไม่ต้องต่อสายเข้ากับตัวเครื่องคอมพิวเตอร์  แต่จะมีอุปกรณ์รับสัญญรจากคีย์บอร์ด  การทำงานจะใช้ความถี่วิทยุในการสื่อสาร  ซึ่งความถี่ที่ใช้จะอยู่ที่  27  MHZ  (Megahertz)  อุปกรณ์ชนิดนี้มักจะมาคู่กับอุปกรณ์เม้าส์
MHZ  (Megahertz)  เป็นหน่วยวัดกระแสไฟฟ้าชนิดกระแสไฟสลับ  (AC : Alternating  Current  Bectricity)

·       Security  Keyboard  คือ  คีย์บอร์ดที่มีช่องเสียบ  Smart  Card  เพื่อป้องกันการใช้งานจากผู้ที่ไม่ได้เป็นเจ้าของคีย์บอร์ด  คีย์บอร์ดชนิดนี้เหมาะสมกับการใช้งานที่ต้องการความปลอดภัยสูงหรือใช้ควบคุมเครื่อง  Server  ที่ยอมให้เฉพาะ  Admin  ที่ทำหน้าที่เป็นผู้  Update  ข้อมูล
                การเลือกซื้อแผงแป้นอักขระควรพิจารณารุ่นใหม่ที่เป็นมาตรฐานและสามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่  สำหรับเครื่องขนาดกระเป๋าหิ้ว  ไม่ว่าจะเป็นโน็ตบุ๊ค  แล็ปท็อป  ขนาดแผงแป้นอักขระยังไม่มีการกำหนดเป็นมาตรฐาน  เพราะผู้ผลิตมีความต้องการให้เครื่องมีขนาดเล็กลง  โดยลดจำนวนแป้นแล้วใช้แป้นหลายแป้นพร้อมกันแทนการทำงานในแป้นเดียว
แผงแป้นอักขระ  แบ่งออกเป็น  4  ส่วน
1.       Typing  Keys  คือ  กลุ่มแป้นอักขระการวางแป้นอักขระจะเหมือนกับการวางแป้นอักขระบนเครื่องพิมพ์ดีด

      2.   Numeric  Keypad  คือ  กลุ่มแป้นตัวเลขและเครื่องหมายที่ใช้ในการคำนวณ

3.       Function  Keys  คือ  กลุ่มฟังก์ชันมี  12  แป้น  คือ  F1-F12

              4.       Control  Keys  คือ  แป้นควบคุมต่างๆ  เช่น  Ctrl,  Alt  เป็นต้น
    การทำงานของแผงแป้นอักขระจะเกิดจากการเปลี่ยนกลไลการกดแป้น  ให้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้าเพื่อส่งให้กับคอมพิวเตอร์  โดยสัญญาณดังกล่าวจะแจ้งให้คอมพิวเตอร์ทราบว่าผู้ใช้กดแป้นอะไรซึ่งการทำงานของแผงแป้นอักขระทั้งหมดจะถูกควบคุมด้วยไมโครโปรเซสเซอร์  ขนาดเล็กที่บรรจุในแผงแป้นอักขระ  ซึ่งสัญญาณต่างๆจะส่งผ่านสายสัญญาณผ่านทางขั้วต่อ  ขั้วต่อมี  4  ประเภท  คือ
            5-pin  DIN  (Deutsche  Institute  fur  Normung)  Connector  เป็นขั้วต่อที่มีขนาดใหญ่ใช้กับคอมพิวเตอร์รุ่นแรกๆ

 
  

            6-pin  IBM  PS/2  Mini-DIN  Connector  เป็นขั้วต่อขนาดเล็กใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน
            4-pin  USB  (Universal  Serial  Bus)  Connector  เป็นขั้วต่อรุ่นใหม่
ปุ่มต่างๆบนคีย์บอร์ดเพื่อการใช้งานในเบื้องต้น
                1.       ~  (Grave  Accent)  ใช้สลับภาษาที่พิมพ์
                2.       Enter  ใช้ในการขึ้นบรรทัดใหม่  หรือยืนยันการสั่งงาน
                3.       ESC  (Escape)  ใช้ยกเลิกหรือหยุดทำงาน
                4.       Backspace  ใช้ลบตัวอักษรที่อยู่ด้านซ้ายของ  Cursor
                5.       Delete  ใช้ลบตัวอักษรที่อยู่ด้านขวาของ  Cursor
                6.       Num  Lock  ใช้เปิดและปิดการใช้งานปุ่มตัวเลขที่อยู่ทางด้านขวาของคีย์บอร์ด

2.     เม้าส์  (Mouse)  คือ  อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ป้อนข้อมูลอย่างหนึ่ง  แต่ที่เห็นการทำงานโดยทั่วไปจะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมลูกศรให้เคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งต่างๆ  บนจอภาพ  เหมาะกับการใช้งานที่ต้องเลือกหรือเลื่อนวัตถุต่างๆ  บนจอคอมพิวเตอร์

การทำงานของเม้าส์  มี  3  ประเภท  คือ
                1.   เม้าส์ทางกล  (Mechanical  Mouse)  อาศัยลูกบอลยางที่กลิ้งไปมาได้  เมื่อเคลื่อนย้ายเม้าส์  ลูกบอลจะกดแนบอยู่กับลูกกลิ้ง  แกนของลูกกลิ้งจะต่อกับจานแปลรหัส  บนจานจะมีหน้าสัมผัสเป็นจุดๆ  เมื่อจุดสัมผัสเลื่อนมาตรงแกนสัมผัสก็จะสร้างสัญญาณแจ้งไปยังคอมพิวเตอร์  โปรแกรมควบคุมเม้าส์จะทำหน้าที่แปลคำสั่งเพื่อเคลื่อนย้าย  Cursor  บนจอภาพต่อไป

2.     เม้าส์ใช้แสง  (Optical  Mouse)  การทำงานคล้ายกับ  Mechanical  ต่างกันที่ตัวรับการเคลื่อนที่ของจาน  Encoder  จะมี  LED  อยู่อีกด้านหนึ่งของจานไว้กำหนดแสงและอีกด้านหนึ่งจะมีทรานซิสเตอร์ไวแสง  (OPTP-Transistor)  ไว้ตรวจจับแสงแทนการใช้การสัมผัส
3.     เม้าส์ไร้สาย  (Wireless  Mouse)  คือ  เม้าส์ที่มีการทำงานเหมือนเม้าส์ทั่วๆไป  แต่จะไม่มีสายต่อออกมาจากตัวเม้าส์  เม้าส์ชนิดนี้จะมีตัวรับและตัวส่งสัญญาณ  ตัวรับสัญญาณอาจเป็นหัวต่อแบบ  PS/2  หรือแบบ  USB  ที่เรียกว่า  Thumb  USB  Receiver  ซึ่งใช้ค่าความถี่วิทยุอยู่ที่  27  MHz  และปัจจุบันใช้แบบ  Nano  Receiver  ซึ่งใช้ความถี่วิทยุที่  2.4  GHz
        MHz  (Megaheriz)  คือ  หน่วยวัดกระแสไฟฟ้ากระแสสลับ  (AC : Alternating  Current)  หรือ  ความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  (EM)  =  1,000,000  hertz  (1  ล้านเฮิรตซ์)  หน่วยนี้ใช้ในการแสดงความเร็ว  นาฬิกา  ไมโครโปรเซสเซอร์  และพบในการวัดสัญาณ  Bandwidth  สำหรับข้อมูลดิจิตอล  ความเร็วสูง  สัญญาณวิดีโอ  อนาล็อก  และสัญญาณการกระจายสเปกตรัม
        GHz  (Gighertz)  คือ  หน่วยวัดกระแสไฟฟ้าสลับ  (AC : Alternating  Current)  หรือความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  (EM)  =  พันล้านเฮิรตซ์  (1,000,000,000Hz)  Gigahertz  ได้รับการใช้เป็นตัวชี้ความถี่ของ  Ultra-High-Frequency  (UHF)  และสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไมโครเวฟ  (Microwave)  รวมถึงคอมพิวเตอร์บางเรื่องที่ใช้แสดงความเร็วของนาฬิกาของไมโครโปรเซสเซอร์
บนเม้าส์จะมีปุ่ม  2-3  ปุ่มขึ้นอยู่กับการออกแบบของผู้ผลิตว่าต้องการจะผลิตเม้าส์เพื่อรองรับโปรแกรมอะไรบ้าง  บางโปรแกรมอาจต้องใช้ปุ่มกลางเพื่อการใช้งาน  แต่การใช้งานโดยทั่วๆไปนิยมใช้ส่วนนิ้วกลางวางไว้ที่ปุ่มขวาของเม้าส์  อุ้งมือใช้สำหรับเคลื่อนเม้าส์ไปมาได้สะดวก  เมื่อเลื่อนเม้าส์  จะพบตัวชี้เม้าส์เลื่อนไปมาบนหน้าจอคอมพิวเตอร์

การใช้เม้าส์
1.       คลิก  (Click)  คือ  การกดปุ่มซ้ายของเม้าส์  1  ครั้ง  เพื่อใช้เลือกรายการหรือคำสั่งต่างๆ
2.       ดับเบิ้ลคลิก  (Double  Click)  คือ  การกดปุ่มซ้ายของเม้าส์  2  ครั้งติดๆ  กันเพื่อเปิดไอคอนหรือชอร์ตคัตของโปรแกรมขึ้นมาทำงาน
3.       แดรกเม้าส์  (Drag  Mouse)  คือ  การกดปุ่มซ้ายของเม้าส์ค้างไว้  แล้วลากไปให้คลุมข้อความที่ต้องการ
4.       กดปุ่มขวาของเม้าส์  (Right  Chick)  คือ  การเข้าสู่เมนูหลัก
5.       ทริเปิลคลิก  (Triple-click)  คือ  การคลิกปุ่มซ้ายของเม้าส์  3  ครั้งติดต่อกันอย่างรวดเร็วใช้มากที่สุดใน  Microsoft  Word  และใน  Web  Browsers  เพื่อเลือกข้อความทั้งย่อหน้า
สัญลักษณ์ของเม้าส์  Mouse  Pointer                                 ความหมาย
    • Normal  Select                                  สัญลักษณ์ของการชี้ตำแหน่ง

    • Help  Select                                           สัญลักษณ์ของการชี้ตำแหน่งขอความช่วยเหลือ

    • Working  In  Background                        มีการทำงานอยู่เบื้องหลัง

    • Busy                                         กำลังดำเนินการ

    • Precision  Select                         สัญลักษณืการเลือกที่จะครอบคลุมวัตถุ  ตัวชี้เม้าส์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น